วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ถาวร โชติชื่น

ถาวร โชติชื่น
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

“ผมเข้าปี ๒๕๑๖ ครับ ปีนั้นมีเหตุการณ์สำคัญๆ ก็คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าเป็นน้องใหม่ และก็มีเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ด้วย เวลาที่มีคนถามว่า ทำไมถึงเลือกเรียน

ที่จุฬาฯ ผมจะตอบว่า เพราะว่าผมฟังเพลงพระราชนิพนธ์มหาจุฬาลงกรณ์ แล้วประทับใจมาก โดยเฉพาะตอนที่บอกว่า ‘ขอตราพระเกี้ยวยั่งยืนยง นิสิตประสงค์เป็นธงชัย

ถาวรยศอยู่คู่ไทย’ พอถึงท่อนนี้ก็ตัดสินใจเรียนจุฬาฯเลยครับ เพราะมีชื่อผมอยู่...

ตอนนั้นบรรยากาศร่มรื่น ตึกสูงๆ ก็ยังไม่ค่อยมี เทียบง่ายๆ คือตอนนั้นมาบุญครองยังไม่มี ตรงมาบุญครองเป็นหอพักนิสิตหญิงของจุฬาฯ ตอนหลังย้ายมาอยู่รวมกันที่ปัจจุบัน

ผมเป็นคนจังหวัดนครนายก ก็อยู่หอด้วยครับ ผมคิดว่าผมได้รับจากจุฬาฯคุ้มค่ามาก เพราะว่านิสิตจุฬาฯคนอื่นเขาอยู่จุฬาฯกันอย่างมากก็ ๑๒ ชั่วโมง แต่ผมอยู่จุฬาฯ ๒๔

ชั่วโมง สมัยนั้นสนุกมาก เพราะว่าระบบโซตัสยังเข้มแข็ง บางวันมีซ้อมเชียร์รวมทั้งมหาวิทยาลัย คนไม่เยอะนะครับ น้องใหม่ทั้งหมดเข้าร่วมซ้อมเชียร์รวมกันที่หอประชุม

ใหญ่ก็ยังได้ ซึ่งหอประชุมใหญ่ยังไม่ติดแอร์ ใช้พัดลม

สมัยนั้นจุฬาฯเรามีคำขวัญกล่าวกันว่า เรียนเป็นงานประจำ กิจกรรมเป็นงานประกอบ ผมก็มีกิจกรรมทั้งในคณะ โดยหลักๆ เช่น ชมรมปาฐกถาและโต้วาที ที่หอพักก็ทำ

กิจกรรมด้วย และกิจกรรมในมหาวิทยาลัย ก็เป็นกรรมการครับ

ช่วงในปี ๒๕๑๖ เป็นช่วงที่มีการประท้วงค่อนข้างเยอะ เรียกว่าเป็นยุคที่พลังนักศึกษาเริ่มที่จะมีบทบาทมากขึ้น จำได้ว่าตอนเข้าไปใหม่ๆ มีกรณีทีมีการลบชื่อนักศึกษา

มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ไปแสดงความคิดเห็นบางอย่างทางการเมือง ก็มีการชุมนุมประท้วงกัน ในจุฬาฯเองก็มีหลายคนที่เข้าไปมีส่วนแสดงความคิดเห็นร่วมต่อสู้ และที่

คณะวิศวกรรม จุฬาฯ ก็มีการประท้วงเรื่องนักเรียนนายเรืออากาศเข้ามาเรียนโดยไม่ต้องสอบคัดเลือก กรณีนั้นเป็นกรณีที่ทำให้เกิดความรู้สึกว่าเหมือนกับการใช้อภิสิทธิ์

เพราะแม้แต่ สมเด็จพระเทพฯเองท่านก็ยังทรงมาสอบเข้ามหาวิทยาลัยเหมือนกับคนอื่นๆ ทั่วไป ท่านทรงเป็นแบบอย่างที่ดี ที่เห็นว่าอะไรที่เป็นกฎเกณฑ์ที่ควรปฏิบัติก็ปฏิบัติ

ตาม แต่อีกแง่ผมก็มีความประทับใจต่อพี่ๆ ชาวจุฬาฯสมัยนั้น คือไม่เห็นด้วยกับระบบ แต่ไม่แอนตี้ตัวบุคคล นักเรียนนายเรืออากาศที่เข้ามาเรียนนั้นเราก็เป็นเพื่อนกัน เป็น

สมาชิกคนหนึ่งของคณะเหมือนกัน แต่เราต่อต้านวิธีการที่ไม่ถูกต้อง สู้กันที่หลักการ เป็นภาพหนึ่งที่ผมประทับใจ และหลังจากนั้นก็ไม่มีการใช้อภิสิทธิ์อีก

ความทรงจำที่ประทับใจอีกมากๆ อีกเรื่องหนึ่งคือ ได้มีโอกาสร่วมในงานวันทรงดนตรี ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายที่มีที่ในจุฬาฯ ผมได้เห็นและมีความรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากที่

สุดในชีวิตทีเดียว...จริงๆ เขาจะกำหนดว่าวันที่เสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรี จะเป็นวันของรุ่นพี่ คือปีหนึ่งจะไม่มีสิทธิ์ได้เข้าไป แต่เผอิญผมได้เข้าไปกับรุ่นพี่ที่เขาทำ

หน้าที่ถ่ายภาพ ไปเป็นผู้ช่วยเขา ถ้าไม่อย่างนั้นก็หมดสิทธิ์เลย เพราะไม่มีอีกแล้ว จำได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราช

ปฏิสันถารสนุกมากๆ ท่านประทับอยู่นานมาก จะเสด็จพระราชดำเนินกลับ นิสิตก็พยายามร้องเพลง...ร้องแล้วก็ไม่จบสักทีครับ ท่านเห็นว่านิสิตไม่อยากให้กลับ ท่านก็อยู่ต่อ

ให้อีกหน่อย

ผมคงต้องพูดว่าสังคมมันเปลี่ยนไป สมัยนั้นผมว่าศูนย์การค้าก็ไม่มีให้เดินมาก สยามสแควร์มีแล้วแต่ก็ไม่ค่อยมีอะไรที่จะเป็นแหล่งชุมนุมมากนัก อย่างดีก็ไปดูหนัง เดี๋ยวนี้มี

อะไรเยอะแยะไปหมด เพราะฉะนั้นมันก็มีแหล่งดึงดูดให้ออกไปข้างนอกได้มากกว่า สมัยก่อนเย็นๆ จะมีงานที่หอประชุม มีการขายบัตร แต่ละชมรมจะจัดการแสดง ดนตรี

กิจกรรมต่างๆ นิสิตไปนั่งชมดนตรี ดูการแสดงไป ส่วนใหญ่อยู่ในมหาวิทยาลัย เพราะฉะนั้นการที่จะสนิทสนมกัน การที่จะรู้จักคุ้นเคยกัน และการที่ให้ความร่วมมือกับ

มหาวิทยาลัย ก็ดูเหมือนจะมากกว่าในปัจจุบัน

ปัจจุบันนี้เวลาน้องๆ เขาจัดกิจกรรม ผมก็เข้าไปช่วย ไปบรรยายให้ข้อคิด ก็รู้สึกว่าความจริงจังตรงนี้มันน้อยลงกว่าเดิม และความสนใจของคนปัจจุบันก็น้อยกว่าเก่า ความเสีย

สละ หรือความที่มีน้ำใจให้แก่มหาวิทยาลัย ให้แก่ส่วนรวม ผมคิดว่าลดน้อยลงไปจากเดิมมาก อาจจะเป็นเพราะการแข่งขันในยุคปัจจุบันมีมากกว่าเดิมด้วยหรือเปล่าก็ไม่ทราบ

ผมคิดว่า หลักทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือสิ่งที่หล่อหลอมให้นิสิตจุฬาฯได้ออกมาเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของสังคม ออกมาเป็นคนที่พร้อม ไม่ว่าใน

เรื่องวิชาความรู้หรือสิ่งที่จะเรียกได้ว่าเป็นทักษะ และประสบการณ์ต่างๆ จะเข้ามาได้อย่างเหมาะสม ทุกวันนี้ผมนึกอยู่เสมอว่าเราอยู่ ณ จุดนี้ได้ก็เพราะได้เป็นนิสิตจุฬาฯใน

วันนั้น”

ถาวร โชติชื่น อดีตผู้อำนวยการสำนักเพิ่มผลผลิตของเครือเบทาโกร

ที่มา: "ไม้หอม" จากรั้วจามจุรี นิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ 2424 ปีที่ 47 ประจำวันอังคารที่ 3 เมษายน 2544 (สัมภาษณ์ โดย ศรัญยา)