วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ถาวร โชติชื่น

ถาวร โชติชื่น
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

“ผมเข้าปี ๒๕๑๖ ครับ ปีนั้นมีเหตุการณ์สำคัญๆ ก็คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าเป็นน้องใหม่ และก็มีเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ด้วย เวลาที่มีคนถามว่า ทำไมถึงเลือกเรียน

ที่จุฬาฯ ผมจะตอบว่า เพราะว่าผมฟังเพลงพระราชนิพนธ์มหาจุฬาลงกรณ์ แล้วประทับใจมาก โดยเฉพาะตอนที่บอกว่า ‘ขอตราพระเกี้ยวยั่งยืนยง นิสิตประสงค์เป็นธงชัย

ถาวรยศอยู่คู่ไทย’ พอถึงท่อนนี้ก็ตัดสินใจเรียนจุฬาฯเลยครับ เพราะมีชื่อผมอยู่...

ตอนนั้นบรรยากาศร่มรื่น ตึกสูงๆ ก็ยังไม่ค่อยมี เทียบง่ายๆ คือตอนนั้นมาบุญครองยังไม่มี ตรงมาบุญครองเป็นหอพักนิสิตหญิงของจุฬาฯ ตอนหลังย้ายมาอยู่รวมกันที่ปัจจุบัน

ผมเป็นคนจังหวัดนครนายก ก็อยู่หอด้วยครับ ผมคิดว่าผมได้รับจากจุฬาฯคุ้มค่ามาก เพราะว่านิสิตจุฬาฯคนอื่นเขาอยู่จุฬาฯกันอย่างมากก็ ๑๒ ชั่วโมง แต่ผมอยู่จุฬาฯ ๒๔

ชั่วโมง สมัยนั้นสนุกมาก เพราะว่าระบบโซตัสยังเข้มแข็ง บางวันมีซ้อมเชียร์รวมทั้งมหาวิทยาลัย คนไม่เยอะนะครับ น้องใหม่ทั้งหมดเข้าร่วมซ้อมเชียร์รวมกันที่หอประชุม

ใหญ่ก็ยังได้ ซึ่งหอประชุมใหญ่ยังไม่ติดแอร์ ใช้พัดลม

สมัยนั้นจุฬาฯเรามีคำขวัญกล่าวกันว่า เรียนเป็นงานประจำ กิจกรรมเป็นงานประกอบ ผมก็มีกิจกรรมทั้งในคณะ โดยหลักๆ เช่น ชมรมปาฐกถาและโต้วาที ที่หอพักก็ทำ

กิจกรรมด้วย และกิจกรรมในมหาวิทยาลัย ก็เป็นกรรมการครับ

ช่วงในปี ๒๕๑๖ เป็นช่วงที่มีการประท้วงค่อนข้างเยอะ เรียกว่าเป็นยุคที่พลังนักศึกษาเริ่มที่จะมีบทบาทมากขึ้น จำได้ว่าตอนเข้าไปใหม่ๆ มีกรณีทีมีการลบชื่อนักศึกษา

มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ไปแสดงความคิดเห็นบางอย่างทางการเมือง ก็มีการชุมนุมประท้วงกัน ในจุฬาฯเองก็มีหลายคนที่เข้าไปมีส่วนแสดงความคิดเห็นร่วมต่อสู้ และที่

คณะวิศวกรรม จุฬาฯ ก็มีการประท้วงเรื่องนักเรียนนายเรืออากาศเข้ามาเรียนโดยไม่ต้องสอบคัดเลือก กรณีนั้นเป็นกรณีที่ทำให้เกิดความรู้สึกว่าเหมือนกับการใช้อภิสิทธิ์

เพราะแม้แต่ สมเด็จพระเทพฯเองท่านก็ยังทรงมาสอบเข้ามหาวิทยาลัยเหมือนกับคนอื่นๆ ทั่วไป ท่านทรงเป็นแบบอย่างที่ดี ที่เห็นว่าอะไรที่เป็นกฎเกณฑ์ที่ควรปฏิบัติก็ปฏิบัติ

ตาม แต่อีกแง่ผมก็มีความประทับใจต่อพี่ๆ ชาวจุฬาฯสมัยนั้น คือไม่เห็นด้วยกับระบบ แต่ไม่แอนตี้ตัวบุคคล นักเรียนนายเรืออากาศที่เข้ามาเรียนนั้นเราก็เป็นเพื่อนกัน เป็น

สมาชิกคนหนึ่งของคณะเหมือนกัน แต่เราต่อต้านวิธีการที่ไม่ถูกต้อง สู้กันที่หลักการ เป็นภาพหนึ่งที่ผมประทับใจ และหลังจากนั้นก็ไม่มีการใช้อภิสิทธิ์อีก

ความทรงจำที่ประทับใจอีกมากๆ อีกเรื่องหนึ่งคือ ได้มีโอกาสร่วมในงานวันทรงดนตรี ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายที่มีที่ในจุฬาฯ ผมได้เห็นและมีความรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากที่

สุดในชีวิตทีเดียว...จริงๆ เขาจะกำหนดว่าวันที่เสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรี จะเป็นวันของรุ่นพี่ คือปีหนึ่งจะไม่มีสิทธิ์ได้เข้าไป แต่เผอิญผมได้เข้าไปกับรุ่นพี่ที่เขาทำ

หน้าที่ถ่ายภาพ ไปเป็นผู้ช่วยเขา ถ้าไม่อย่างนั้นก็หมดสิทธิ์เลย เพราะไม่มีอีกแล้ว จำได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราช

ปฏิสันถารสนุกมากๆ ท่านประทับอยู่นานมาก จะเสด็จพระราชดำเนินกลับ นิสิตก็พยายามร้องเพลง...ร้องแล้วก็ไม่จบสักทีครับ ท่านเห็นว่านิสิตไม่อยากให้กลับ ท่านก็อยู่ต่อ

ให้อีกหน่อย

ผมคงต้องพูดว่าสังคมมันเปลี่ยนไป สมัยนั้นผมว่าศูนย์การค้าก็ไม่มีให้เดินมาก สยามสแควร์มีแล้วแต่ก็ไม่ค่อยมีอะไรที่จะเป็นแหล่งชุมนุมมากนัก อย่างดีก็ไปดูหนัง เดี๋ยวนี้มี

อะไรเยอะแยะไปหมด เพราะฉะนั้นมันก็มีแหล่งดึงดูดให้ออกไปข้างนอกได้มากกว่า สมัยก่อนเย็นๆ จะมีงานที่หอประชุม มีการขายบัตร แต่ละชมรมจะจัดการแสดง ดนตรี

กิจกรรมต่างๆ นิสิตไปนั่งชมดนตรี ดูการแสดงไป ส่วนใหญ่อยู่ในมหาวิทยาลัย เพราะฉะนั้นการที่จะสนิทสนมกัน การที่จะรู้จักคุ้นเคยกัน และการที่ให้ความร่วมมือกับ

มหาวิทยาลัย ก็ดูเหมือนจะมากกว่าในปัจจุบัน

ปัจจุบันนี้เวลาน้องๆ เขาจัดกิจกรรม ผมก็เข้าไปช่วย ไปบรรยายให้ข้อคิด ก็รู้สึกว่าความจริงจังตรงนี้มันน้อยลงกว่าเดิม และความสนใจของคนปัจจุบันก็น้อยกว่าเก่า ความเสีย

สละ หรือความที่มีน้ำใจให้แก่มหาวิทยาลัย ให้แก่ส่วนรวม ผมคิดว่าลดน้อยลงไปจากเดิมมาก อาจจะเป็นเพราะการแข่งขันในยุคปัจจุบันมีมากกว่าเดิมด้วยหรือเปล่าก็ไม่ทราบ

ผมคิดว่า หลักทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือสิ่งที่หล่อหลอมให้นิสิตจุฬาฯได้ออกมาเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของสังคม ออกมาเป็นคนที่พร้อม ไม่ว่าใน

เรื่องวิชาความรู้หรือสิ่งที่จะเรียกได้ว่าเป็นทักษะ และประสบการณ์ต่างๆ จะเข้ามาได้อย่างเหมาะสม ทุกวันนี้ผมนึกอยู่เสมอว่าเราอยู่ ณ จุดนี้ได้ก็เพราะได้เป็นนิสิตจุฬาฯใน

วันนั้น”

ถาวร โชติชื่น อดีตผู้อำนวยการสำนักเพิ่มผลผลิตของเครือเบทาโกร

ที่มา: "ไม้หอม" จากรั้วจามจุรี นิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ 2424 ปีที่ 47 ประจำวันอังคารที่ 3 เมษายน 2544 (สัมภาษณ์ โดย ศรัญยา)

ถาวร โชติชื่น กับบทบาทขุนพลสภา (โจ๊ก)



ว่ากันว่าเรื่อง "ประชุมสภาฯ" เป็นการบ้านการเมืองที่ชวนปวดหัว ใครก็ตามที่พาตัวเข้าไปข้องแวะล้วนต้องกุมขมับกลับมาทุกครั้งไป แต่มีคนกลุ่มหนึ่งที่ค้นพบ เสน่ห์ของกิจกรรมดังกล่าว พวกเขาได้หยิบเอาของหนักที่ว่านี้มาสร้างสรรค์เป็นความบันเทิงแฝงสาระ โดยตั้งชื่ออย่างเก๋ไก๋ให้สภาแห่งนี้ว่า "สภาโจ๊ก" เอ่ยถึงรายการโทรทัศน์ยอดนิยม "สภาโจ๊ก" สิ่งที่เป็นเสน่ห์ดึงดูดให้ ผู้ชมทั่วบ้านทั่วเมืองยอมนอนดึก แล้วติดตามในทุกค่ำคืนวันพุธ เห็นจะเป็นบทบาทของ สมาชิกสภาผู้ทรงเกียรติทั้งฝ่ายรัฐบวมและฝ่ายแค้น โดยขุนพลแต่ละท่านล้วนมีท่วงท่าและลีลาการอภิปรายชนิดสร้างความฮาได้ไม่เลิก หนึ่งในขุนพลที่ว่านี้คือ

"ถาวร โชติชื่น" หรือท่านรองนายกรัฐมนโทฝีปากกล้านั่นเอง คุณถาวร โชติชื่น หนุ่มใหญ่วัย 50 ปีเศษคนนี้ ปัจจุบัน นอกจากจะนั่งเก้าอี้รองนายกประจำสภาโจ๊กแล้ว ในชีวิตจริงเขามีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักเพิ่มผล ผลิตเครือเบทาโกร ทำหน้าที่ดูแลอยู่ในส่วน PRODUCTIVITY ของกรุ๊ป ซึ่งบทบาททั้งสองด้านที่ได้รับมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

"หลังจบ ม.ปลาย จากเตรียมอุดมศึกษา ผมสอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ การได้เรียนวิศวะถือเป็นสิ่งที่ดีเพราะได้เรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ ในขณะเดียวกัน ก็เป็นความชอบความสนใจที่ได้ทำกิจกรรมในเรื่องของการพูด ผมเป็นนักโต้วาทีของมหาวิทยาลัยด้วย จึงมีทักษะในเรื่องการสื่อสาร และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ได้ไป ทำงานในบทบาทของการเป็นนักพูด"

คุณถาวร บอกว่า ด้วยพื้นฐานเป็นคนรักการอ่านและชอบฟัง อีกทั้งชีวิตช่วงที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยก็เป็นนักกิจกรรมทางด้านการพูด การโต้วาที จึงดูเหมือนว่าหลาย สิ่งหลายอย่างจะปูทางให้เขาเข้ามาในวงการนี้โดยปริยาย ปริยาย "พอจบมาแล้ว ทำงานเป็นวิศวกร ผมยังทำหน้าที่เป็นวิทยากรในเรื่องการถ่ายทอดอยู่ด้วย แล้วก็มีกิจกรรมต่อเนื่องรายการด้านโทรทัศน์ สมัยโน้นก็ทำรายการแววเด็ก ทีวีวาทีก้าวใหม่ และอื่นๆ อีกหลายรายการ ได้รู้จักคนในกลุ่มนักพูด ผู้ผลิตรายการทางด้านการพูด พอมีรายการสภาโจ๊กเกิดขึ้น ผมเลยเป็นหนึ่งในบรรดาผู้ที่เข้าไป ร่วมรายการในฐานะเป็นนักพูด"

เขาอธิบายถึงแนวร่วมของสภาโจ๊กให้ฟังว่า ประกอบด้วยกลุ่มที่เป็นนักพูดอาชีพ กับกลุ่มคนหน้าเหมือนในแวดวงการเมืองหรือวงสังคมที่คนรู้จักกันดี ซึ่งลักษณะ ของรายการนี้ต้องการทำให้มีทั้งความบันเทิง ขณะเดียวกันก็มีข้อคิดให้ แต่รายการไม่ได้ชี้ว่าอะไรถูก-ผิด เพียงแต่เรื่องที่หยิบขึ้นมาเป็นประเด็น เป็นเรื่องน่าสนใจ และอาจมีหลายมุมมอง จึงมีการสอดแทรกเรื่องดังกล่าวให้สังคมได้แง่คิด "เราพยายามสร้างสรรค์ให้เกิดความคิดหรือสาระใดสาระหนึ่ง เช่น เรื่องของการตื่นตัว ทำให้คนสนใจการเมืองมากขึ้น ต้องบอกว่าบางคนก็สนใจมาก แต่บางคนถ้า ไม่มีอะไรเป็นตัวจูงก็อาจจะเฉยๆ หรือบางประเด็นอาจจะไม่ได้นึกถึง รายการนี้เป็นจุดหนึ่งที่ช่วยเชื่อมโยงเข้ามา เรียกว่าเป็นการพยายามสื่อสาร การบ้าน การเมือง หรือความสนใจในเรื่องสังคม โดยอาศัยความไม่เครียดเป็นสิ่งดึงดูด"

เสน่ห์ของรายการสภาโจ๊ก จึงเป็นเรื่องของสมาชิกทุกคนที่พยายามสะท้อนภาพเรื่องราวในปัจจุบันโดยทำให้เบาลง มีการล้อเลียนสอดแทรกเข้าไปในเนื้อหา ช่วยกระ ตุ้นในเรื่องความคิด นอกจากนี้ ทีมงานเบื้องหลังยังระดมความคิดว่า ควรหยิบประเด็นใดขึ้นมาพูด หรือมีบางเรื่องที่ต้องระมัดระวังไม่ให้สื่อออกไป เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิด ขึ้นได้
"ถามว่าตั้งแต่ออกอากาศมาถูกแทรกแซงทางการเมืองจริงๆ บ้างไหม ผมว่ารายการนี้สามารถดำเนินไปได้โดยไม่มีการท้วงติงอะไร แม้กระทั่งกลุ่มคนหน้าเหมือน ทั้งหลาย เมื่อมีโอกาสได้คุยกันเวลาเจอตัวจริง เขาก็ไปบอกว่าขอนะ จะเล่นอะไรบ้าง นักการเมืองเจ้าของลิขสิทธิ์หน้าทุกท่านก็ไม่ว่าอะไร ผู้หลักผู้ใหญ่หลายท่าน ก็เข้าใจ ทำออกมาแล้วสร้างสรรค์ก็ทำไป เพราะฉะนั้น ผลตอบรับกลับมาจะเป็นทางด้านบวกมากกว่า แล้วทางรายการเอง เราก็พยายามระมัดระวัง โดยในระหว่างการบันทึกเทป การพูดหรือแสดงอากัปกิริยา บางอย่างก็เป็นไปตามธรรมชาติ แต่เมื่อเวลาออกอากาศ ผู้ชมอาจจะเกิดความรู้สึกว่ารับไม่ได้ อย่างนี้ทางรายการก็ระมัดระวังโดยการตัดต่อให้กลมกลืน อันนี้ก็เป็น สิ่งหนึ่งที่เราระวัง เพื่อป้องกันภาพที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย"

อย่างไรก็ตาม มีแฟนรายการหลายคนตั้งข้อสงสัยว่า สมาชิกสภาบางท่าน แสดงบทบาทน้อยเหลือเกิน ในฐานะสมาชิกผู้ทรงเกียรติ คุณถาวรชี้แจงให้ฟังว่า เป็นเรื่อง ของสีสันสภา
"ผมมองอย่างนี้ เหมือนละครเรื่องหนึ่ง มันต้องมีทั้งคนที่รับบทเป็นพระเอก พระรอง จึงจะมีสีสันของเรื่อง เพราะฉะนั้น แต่ละคนก็ต้องรับบทบาทกันไปตามความ เหมาะสม และผมเชื่อด้วยว่า สภาจริงๆ ก็เป็นอย่างนี้ บางคนก็เป็นดาว บางคนก็เป็นนักเลงสภา บางคนก็เรียบร้อย บางคนก็เงียบ เพราะฉะนั้น สภาโจ๊กก็จำลองเอาภาพ นั้นๆ ออกมา ที่สำคัญ รายการนี้ไม่มีสคริปต์ แต่ทุกคนก็จะรู้ว่า วันนี้เราจะเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็แปลว่าประเด็นทั่วๆ ไปที่พูดถึงหรืออยู่ในความสนใจของคนทั่วไปอยู่แล้ว แต่ละคนจะเตรียมข้อมูลบางส่วนมาบ้าง และที่เหลือก็ต้องไปแก้ไขสถานการณ์เอาเอง จะมีก็เพียงลำดับการพูดว่าใครก่อนหลัง และไม่มีกำหนดว่าตอนนี้ต้องประ ท้วงนะ เป็นการยกมือประท้วงตามเห็นสมควร"

นั่นเป็นเรื่องของสีสันที่ต้องการนำเสนอต่อผู้ชม แต่สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้และเป็นเหมือนแม่เหล็กดึงดูดผู้ชมคือ มุขสดของสมาชิกแต่และท่าน
"ในส่วนของมุขนั้น ในประเด็นที่ตัวเองจะอภิปราย หรือนึกหัวข้อในวันนั้น ก็อาจจะมีการเตรียมไว้ล่วงหน้าบ้าง ที่เหลือก็ไปแก้ไขกันเอง เกิดขึ้นสดๆ ณ เวลานั้น บางทีคนนี้พูดเรื่องนี้มาก็เลยนึกเรื่องนี้ เชื่อมโยงได้ก็นำมาประกอบกัน เป็นพรสวรรค์และผลจากการฝึกฝนก็ว่าได้ ซึ่งแต่ละคนมีพื้นฐานเป็นนักพูดอยู่แล้ว"

นับเป็นการสอดแทรกมุขตลกในเรื่องที่เป็นสาระได้อย่างกลมกลืน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่รายการสภาโจ๊ก จะได้รับการกล่าวขานถึง อย่างกว้างขวาง
"ผมคิดว่า สิ่งที่น่าจะทำให้คนสนใจรายการของเรา ข้อแรก อาจเป็นเพราะรายการมีความแปลกหรือเป็นรูปแบบใหม่ก็ได้ เราอาจจะเคยชมรายการประเภททอล์ค โชว์มาแล้ว อย่างเช่น เรื่องของการโต้วาที ซึ่งอันนี้เป็นส่วนหนึ่งของการโต้วาทีเหมือนกัน เพราะมีฝ่ายค้าน ฝ่ายเสนอ แต่ที่พิเศษกว่านั้นคือ เป็นการจำลองรูปแบบ ในสภามา และไม่ได้โต้กันโดยตรง อีกจุดหนึ่งที่เป็นที่สนใจ น่าจะอยู่ที่ความสามารถของผู้ร่วมรายการแต่ละท่าน และอาจจะรวมไปถึงความลงตัวของตัวแทนที่มาจากทุกภูมิภาค อาศัยที่ตัวเองถนัดในเรื่องวัฒนธรรม การพูด การแสดงออกของท้องถิ่น เหล่านี้ก็สร้างบรรยากาศ ของรายการได้ดีทางหนึ่ง เป“นการสะท้อนภาพจริงๆ ของสภาเหมือนกัน และทางรายการเองพยายามหนีตัวเองโดยการสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา รวมๆ แล้วน่าจะเป็น รายการหนึ่งที่น่าจะตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ เป็นทางเลือกหนึ่ง ที่มีสาระ แต่ไม่เครียด "

การตอบรับจากผู้ชมอย่างล้นหลามนี้ ทำให้ทีมงานต้องพิถีพิถันในการผลิตรายการเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการได้ครบทุกรสชาติ ทุกวันนี้เวลาไป ไหนก็ได้รับการพูดถึงในวงกว้าง มีทั้งที่บอกว่าดีแล้ว ลงตัวแล้ว บางท่านก็บอกว่าน่าจะมีสาระมากกว่านี้อีกหน่อย หรือน่าจะเข้มข้นขึ้น อาจจะเป็นเรื่องของการเสียด สี หรือบางประเด็นก็น่าจะเล่นให้หนักกว่านี้ แต่ก็พยายามชี้แจงว่า รายการไม่ได้เป็นรายการประเภทเอาความจริงมาถก มาแฉ ไม่ใช่ขนาดนั้น ก็ต้องทำความเข้าใจ สำหรับก้าวต่อไปของรายการ คุณถาวรบอกว่า จะพยายามทำให้เกิดการพัฒนาอยู่เรื่อยๆ ให้มีสิ่งใหม่มานำเสนออยู่ตลอดเวลา
"อาจจะเป็นเรื่องของการให้รายการมีสิ่งดึงดูดความสนใจมากขึ้น ไม่เช่นนั้น ผู้ชมที่เปิดมาแล้วก็เจอแต่สิ่งเดิมๆ สิ่งใหม่นี้ เช่น ถ้าจะพูดเรื่องประหยัดพลังงาน ก็มีการเอาสามล้อหรือจักรยานมาเป็นตัวประกอบ ให้คณะรัฐมนตรีที่มาประชุมสภาขี่จักรยาน หรือสามล้อมา ก็เกิดความหลากลาย และร่วมสร้างสรรค์สังคมทาง หนึ่ง"

นั่นเป็นบทบาทและแนวคิดที่มีต่อรายการทอล์ค ออฟ เดอะทาวน์อย่างสภาโจ๊ก สำหรับบทบาทอื่นอย่างตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักเพิ่มผลผลิต ในเครือเบทาโกร หรืองานนอกเหนือจากนี้ เขาบอกว่า อาศัยการเข้าไปคลุกคลีจนเกิดเป็นความสุขและสนุกที่ได้ทำ ความสำเร็จจึงเกิดขึ้นได้
"สิ่งที่เราเข้าไปทำ ต้องรู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่เรารัก เราสนุก เพราะฉะนั้นมันก็เลยทำได้อย่างสนุก มีความสุขกับมัน ถามว่าทำอย่างไรไม่ให้เครียด ก็ต้องบอกว่า เรามีความสนุก ถึงแม้ในส่วนของงานประจำกับงานด้านการพูด ถ้าเราสนุกกับมัน ก็สามารถลดความเครียดหรือความรู้สึกอึดอัดได้ แต่ในขณะเดียวกัน มีบางอย่าง ที่รู้สึกชอบน้อยกว่าอีกอย่าง ให้ลองพยายามมองหาจุดที่มันสนุก อย่าจริงจังกับบางเรื่องเกินไป"

อีกส่วนหนึ่งเขาบอกว่านำหลักธรรมะเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างเรื่องการมีสติ รวมถึงการทำงานร่วมกันก็ไม่ยึดมั่น ถือมั่น ตัวเองจนเกินไป ็รู้จักให้อภัย ที่สำคัญ ทั้งงานประจำและงานส่วนตัวต้องรู้จักแบ่งเวลาให้เป็น
"ผมยึดหลักอิทธิบาท 4 ธรรมะนำไปสู่ความสำเร็จ ต้องมีฉันทะ คือเมื่อเราจะทำงานก็ต้องมีความพอใจและต้องการทำในสิ่งนั้น ถัดมาคือวิริยะ มีความขยัน หมั่นเพียรจึงจะประสพความสำเร็จ ถัดมาอีกคือ จิตตะ มีความมุ่งมั่น มีสมาธิ มีสติกับสิ่งที่ทำ ประการสุดท้ายคือ วิมังสา ต้องรู้จักพิจารณาใคร่ครวญ เมื่อ ได้รับมอบหมายงานมาก็ต้องใคร่ครวญว่า ถูกต้องหรือไม่ ทั้งหมดนี้ เป็นข้อคิดที่เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ ให้พยายามมองโลกในแง่ดี มองการงานเป็นสิ่ง นำพาความสุขมาให้ ก็จะทำให้เราทำงานอย่างมีความสุข"

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโจ๊กหรือเรื่องจริง ทุกสิ่งล้วนต้องอาศัยความมานะ และความตั้งใจจริงด้วยกันทั้งนั้น...

อ้างอิงมาจาก
- nationejobs.com โดยคุณ ชาญยุทธ ปะวะวัง เมื่อวันที่ วันที่: 16 ส.ค. 2547
- http://www.cmadong.com/community/career/100_career_star01.html

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ประวัติวิทยากร อาจารย์ถาวร โชติชื่น

อาจารย์ถาวร โชติชื่น
Mr.Tavon Chotechuen
(TG ZD56383)

การศึกษา
+ มัธยมศึกษา จาก โรงเรียนนครนายกวิทยาคม
+ เตรียมอุดมศึกษา จาก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
+ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปัจจุบัน
+ ผู้อํานวยการสํานักบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เครือเบทาโกร
+ ประธานฝ่ายวิชาการ สถาบันพัฒนาบุคคล
+ วิทยากร สถาบันพัฒนาบุคคล สถาบันฝึกอบรม มัลติ สมาร์ท

ประวัติการทํางานประวัติการทํางาน
การสอน
+ อาจารย์พิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์
+ ผู้บรรยาย โครงการพัฒนาผู้บริหาร นิด้า – ไอเมท

การพูด
+ ประธานชมรมปาฐกถาและโต้วาที
+ นักโต้วาทีเหรียญทอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
+ ชนะเลิศโต้วาที โล่พระราชทาน 3 ปีซ้อน
+ ชนะเลิศโต้วาทีระหว่างมหาวิทยาลัย
+ ผู้ดําเนินรายการและกรรมการตัดสินโต้วาที รายการแววเด็ก ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท.
+ วิทยากร รายการ ทีวี – วาที ช่อง 9 อ.ส.ม.ท.
+ วิทยากรนักโต้วาที อภิปรายและผู้บรรยายรับเชิญตามหน่วยงานราชการ, เอกชน ฯลฯ

การเขียน
+ พูดดีมีกําไร เล่ม 1 เล่ม 2 เล่ม 3 และเล่ม 4 , ทีเด็ดเกร็ดการพูด, ผงชูรสการพูด
+ วารสารวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
+ คอลัมน์ ทีเด็ดนักบริหาร ในหนังสือดอกเบี้ย
+ คอลัมน์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในหนังสือ Recruit




ติดต่อประสานงาน

+ สถาบันฝึกอบรม มัลติ สมาร์ท โทร. 0944799554
+
http://www.multi-smart.com